top of page

สบู่ในโลกนี้มีอยู่ 4 ประเภทใหญ่ๆ

1. สบู่อัด (สบู่โรงงาน, สบู่อุตสาหกรรม)

2. สบู่กวนเย็น CP (Cold Process)

3. สบู่กวนร้อน HP (Hot Process)

4. สบู่กลีเซอรีน MP (Melt and Pour)

- สบู่อัด (สบู่โรงงาน, สบู่อุตสาหกรรม)

ผลิตสบู่โดยใช้ Soap Chip หรือ Soap Noodle ซึ่งผลิตจากกระบวนการผลิตแบบตุ๋นด้วยความร้อนสูงกับไขมันสัตว์ หรือน้ำมันปาล์ม ทำให้เกิดเนื้อสบู่ และมีน้ำ Glycerin แยกตัวออกมา โดยโรงงานจะแยกเอา Glycerin เพื่อนำไปขายให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ ทำให้ Soap Chip ส่วนใหญ่จะไม่มี Glycerin ตามธรรมชาติเหลืออยู่และไม่ค่อยมีสารบำรุงผิว เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้น้ำมันที่มีส่วนในการบำรุงผิวผลิต แต่จะเน้นการใช้ น้ำมัน / ไขมันจากปาล์ม น้ำมันมะพร้าวที่จะให้ความแข็งของสบู่และฟองที่มาก

สบู่อัดเป็นสบู่ที่ผลิตเชิงอุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องจักรเป็นหลัก เพื่อผลิตให้ได้ปริมาณมากจึงได้ราคาถูก และต้องหาสารเคมีทดแทนมาเติมเพื่อเป็นการบำรุงผิว เช่น สารเพิ่มฟอง, สารกันหืน และน้ำหอม ซึ่งในการเติมสารเคมีหลายชนิดนี้ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองในบางคน

ลักษณะของเนื้อสบู่อัดที่ได้จะมีความแข็ง ฟองมาก น้ำมาบีบอัดด้วยเครื่องอัดสบู่จึงสามารถนำมาปั๊มขึ้นรูปได้ จึงมักมีรูปก้อนสบู่ที่สวยงาม น่าใช้ สีและปริมาตร จะเท่ากันทุกก้อน เนื่องจากใช้เครื่องจักรในการผลิต

- สบู่กวนเย็น CP (Cold Process)

คือการทำสบู่โดยไม่ใช้ความร้อนในการเร่งปฎิกิริยาในการเกิดสบู่ แต่จะใช้ระยะเวลาในการผลิตนานมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไปในการตากสบู่เพื่อให้โซดาไฟหรือด่าง ที่เราใช้ในการผลิตสบู่ ระเหยออกจากสบู่ ทำให้สบู่สามารถใช้กับผิวได้โดยไม่เป็นอันตราย และยังช่วยให้สบู่แข็งขึ้นโดยธรรมชาติ

* นิยมทำแบรนด์กันในรูปแบบสบู่ Hand Made

ข้อดี ของการทำสบู่กวนเย็น CP

- สามารถเลือกสมุนไพร และเลือกใช้น้ำมันบำรุงผิวได้หลากหลาย

- เล่นลวดลายต่างๆ ลงบนสบู่ได้หลากหลายเทคนิค ทำให้สบู่สวยงาม น่าใช้มากกว่าสบู่ธรรมดาทั่วไป

ข้อเสีย ของการทำสบู่กวนเย็น CP

- สบู่จะละลายได้ง่าย เพราะไม่ได้ใช้ความร้อนในการทำสบู่ให้แข็ง ไม่ได้ใช้เครื่องจักรบีบอัดให้อยู่ในรูปสบู่ก้อนแข็งๆ ไม่ได้ใส่สารเคมีปรุงแต่งให้สบู่ไม่ละลายน้ำง่าย

- สบู่กวนร้อน HP (Hot Process)

ใช้วิธีการผลิตเช่นเดียวกับสบู่กวนเย็น เพียงแต่มีความร้อนจากการอบ การตุ๋น หรือ Double Boiler เพื่อเร่งปฎิกิริยาการเกิดสบู่ ใช้เวลาการผลิตไม่นาน เนื้อสบู่จะมีความขรุขระแต่เป็นเอกลักษณ์ของสบู่ประเภทนี้

สบู่โรงงานก็ใช้กระบวนการผลิตในรูปแบบนี้ เพียงแต่สบู่ HP ในกระบวนการผลิตแบบ Hand Made จะไม่ดึง Glycerin ที่ได้จากธรรมชาติออกไป

- สบู่หลอมเท MP (Glycerin) / Melt and Pour

ใช้เทคนิคระหว่างการผลิตสบู่แบบกวนเย็น และการทำสบู่เหลวไว้ด้วยกัน โดยผสมกรดไขมันชนิดต่างๆ เพื่อให้สบู่สามารถอยู่ในรูปแบบครีมเหลวเพื่อเทลงพิมพ์และกลับมาแข็งเป็นก้อนได้อีกครั้ง โดยสบู่ที่มีรูปแบบใสและโปร่งแสงจะเป็นสบู่รูปแบบนี้

คนไทยนิยมเรียกกันติดปากว่า สบู่ Glycerin เพราะมีการเติม "กลีเซอรีน" เข้าไปเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับสบู่ เนื่องจากการผลิตเบสสบู่นี้ ต้องใช้ความร้อนในการ saponification จนไขมันของน้ำมันหมดไปเพื่อให้ได้สบู่ที่ใส ทำให้สบู่ขาดความชุ่มชื้นจากน้ำมันธรรมชาติ เพราะไม่มีน้ำมันเหลือในสูตรเลย จึงต้องเติม Glycerin

ข้อดี คือ เราจะได้สบู่เนื้อเนียนสวย ทั้งในรูปแบบขุ่นและใส โดยยังมีความชุ่มชื้นที่เติมเสริมมากับขั้นตอนการทำเบสสบู่ อีกทั้งยังสามารถเติมสารสกัดจากธรรมชาติได้ % ที่สูง เช่น สารสกัดเพื่อความขาวใส ชุ่มชื้น สมุนไพรต่างๆ หากไม่กังวลในเรื่องของสบู่ที่อาจจะนิ่ม หรือเกิดเหงื่อสบู่เมื่อเติมกลีเซอรีนที่ให้ความชุ่มชื้นได้มาก เนื่องจากการเติมสารสกัดเสริมในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเทลงพิมพ์ สามารถเติมได้ในอุณหภูมิที่ต่ำ และเบสของสบู่มีด่างที่พอเหมาะกับผิวแล้ว จะไม่เข้มข้นเหมือนการทำ CP สารสกัดบางตัวที่สามารถทนความร้อนทนด่างได้ จึงยังคงอยู่บนสบู่ ทำให้หวังผลในการบำรุงได้มากกว่า

ข้อเสีย คือ สบู่จะดูดความชื้นเข้าหาตัวเองเนื่องจากมีการเติม Glycerin เสริม ซึ่ง Glycerin จะเป็นตัวดูดความชื้นในอากาศเข้าสู่ตัวเอง เช่นเดียวกับ Glycerin จะดึงความชุ่มชื้นเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เมื่อวางไว้ในที่ชื้นจะเกิดเหงื่อของสบู่ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อาจไม่สวยงามสำหรับลูกค้าบางท่าน สบู่อาจเกิดคราบที่ซองสบู่ เนื่องจากเหงื่อของสบู่ดังที่กล่าวไป

bottom of page